ทนายฝรั่งยันฟ้อง ฆ่า91ศพ ขึ้นศาลหลายชาติ



นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข่าวว่าทีมทนายเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลโลกในคดีสังหารพลเรือน 91 ศพ ในการสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงในประเทศไทยว่า จะไม่ขอบอกว่า จะยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อใด หรือศาลใดบ้าง แต่หากคุณย้อนไปดูคดีที่ตนทำมาแล้ว ทั้งกับกัวเต มาลา หรือรัสเซีย สิ่งที่ตนพูดได้แน่นอนก็คือ คนที่ตายไปในเหตุการณ์ครั้งนั้นต้องได้รับความยุติธรรม ในส่วนของการดำเนินการจะเป็นวันนี้ พรุ่งนี้ หรืออาจจะเป็น 5 ปีจากนี้ไป คนบริสุทธิ์ที่ถูกสังหารนั้น เราจะนำความยุติ ธรรมมาให้

นายอัมสเตอร์ดัมกล่าวว่า กลุ่มบุคคลที่ถูกฟ้องในกัวเตมาลาเคยหัวเราะเยาะกับการทวงความยุติธรรมมาแล้ว ทั้งยังบอกว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ดูตอนนี้ สหประชาชาติเห็นชอบกับการตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการนิรโทษกรรม เพื่อย้อนดูเหตุ การณ์ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น เพื่อ นำไปสู่ความยุติธรรม หรืออย่างกรณีรัสเซีย ตอนแรกโลกภายนอกไม่มีทางรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในรัสเซีย เราก็เอาคดีนี้ไปที่ยุโรปจนได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงานทั้งหมด จากเดิมที่ผู้คนพูดกันว่า ไม่มีทางทำได้

สำหรับกรณีของไทย อัมสเตอร์ดัมกล่าวว่า ตอนนี้คนก็พูดเช่นกันว่า ไม่มีทางไปจะได้รับความสนใจจากศาลระหว่างประเทศ เราได้เห็นเหตุการณ์แบบนี้ในไทยทุกๆ 10-12 ปี ถึงเวลาที่ต้องยุติได้โดยการนำตัวผู้สังหารเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม ขอย้ำว่านี่เป็นหน้าที่ของเรา เราจะทำทุกอย่าง ถึงตนรับประกันไม่ได้ว่า มันจะเกิดขึ้นวันพรุ่งนี้ แต่ขอรับประกันได้ว่าในตอนนี้ โดยเฉพาะเมื่อกระบวนการศาลอาญาระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เป็นการปฏิวัติไปสู่การต่อสู้กับกลุ่มมีอำนาจ สิ่งนี้เปลี่ยนแปลงกฎหมายอยู่ตลอดเวลา เป็นการเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์ในการช่วยเหลือเหยื่อ ไม่มีใครคนใดที่สังหารประชาชน มือ เปื้อนเลือดจะลอยนวลอยู่ได้ ตนจะไม่บอกว่า เมื่อไหร่ หรือทำอย่างไร แต่ขอให้มั่นใจได้ว่า การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับรัฐบาลไทยครั้งนี้ จะไม่ใช่การต่อสู้ศาลเดียว แต่จะเป็นหลายศาล ก็อาจจะมีบางศาลที่เราแพ้ แต่เราจะทำให้ดีที่สุดที่จะเอาความเป็นธรรมมาให้ผู้สูญเสีย และจะทำให้โลกเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นในเดือนพฤษภาฯ 53

เมื่อถามว่า ในทางวิธีการแล้ว เมื่อมีการพิจารณาคดีตามกระบวนการศาลของไทย จะมีการดำเนินคดีศาลระหว่างประเทศในเวลาเดียว กันได้หรือ นายอัมสเตอร์ดัม กล่าวว่า ขอยกตัวอย่างกรณีของกัวเตมาลา ตนนำเรื่องไปต่อสู้ที่ศาลเบอร์มิวดา เพราะตอนนั้นไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการในกัวเตมาลา ในกรณีของรัสเซีย เราไปได้ความเป็นธรรมจากศาลในสวิตเซอร์แลนด์ หน้าที่ของทนายอย่างตน คือต้องหาทางต่างๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนเดิม เพื่อให้ลูกความได้รับความยุติธรรม ใน กรณีของไทย เหตุการณ์นองเลือดเคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2535 และก็มาเกิดอีก มันจำเป็นต้องหยุด มันต้องเลิกนิรโทษกรรม

เมื่อถามว่า ได้ติดต่อประสานงานกับทีมนักกฎหมายของพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่ นายอัมสเตอร์ดัม กล่าวว่า ตนร่วมมือกับใครก็ตามที่ร่วมมือด้วย แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อ ตนก็ถูกห้ามเข้าประเทศไทยมาแล้ว จึงจะไม่เปิดเผยชื่อใครที่ไม่เป็นผลดีกับคนๆ นั้น

ถามว่า ทำไมถึงได้มั่นใจมากว่าจะทำคดีนี้ได้ นายอัมสเตอร์ดัมกล่าวว่า เพราะประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้โลกเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ตนคิดว่า ตอนนี้โลกเริ่มเข้าใจแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น และนั่นทำให้มั่นใจมากขึ้น และเมื่อดูการทำคดีที่ผ่านมาในประเทศอื่นที่เห็นผลมาแล้ว ประเด็นไม่ได้ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นมานานแค่ไหน หรือเกิดขึ้นในประเทศอะไร ประเด็นอยู่ที่เราได้เปลี่ยนความคิดของคนไทย และรัฐบาลสำนึกว่า จะต้องไม่ปกปิดข้อมูล ตอนนี้ประชาคมโลกต่างก็รู้ว่า รัฐบาลไทยพยายามปกปิดข้อมูลอยู่

เมื่อถามว่า ทางรัฐบาลไทย กล่าวว่า การเอาเรื่องนี้ไปศาลโลกเป็นเรื่องเหลวไหลเกินไป นายอัมสเตอร์ดัม กล่าวว่า อาชญากรทั่วไปก็มักกล่าวเช่นนี้ คิดว่ามันเหลวไหลจนกระทั่งถูกเอาตัวขึ้นศาล ตนอยากเตือนผู้นำรัฐบาลไทยให้นึก ถึงคดีนายพลนอริเอก้า (เผด็จการทหารปานา มา) ที่ไม่คิดเหมือนกันว่าจะถูกดำเนินคดีที่ศาลไมอามี และรับโทษในที่สุด ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์