กองทัพกับการเมืองไทย 1

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1293447148&grpid=&catid=02&subcatid=0207
วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:00:00 น.แบ่งปันข่าวนี้บน facebook Share



โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์



เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการเมืองเท่านั้น

คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้งนั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย

ครั้นมาถึงตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย

ผมคิดว่า ความจริงคงอยู่ระหว่างสุดโต่งสองด้านนี้ กล่าวคือกองทัพเป็นตัวละครหนึ่ง ซึ่งมีผลประโยชน์, ความต้องการ, ความใฝ่ฝัน ฯลฯ ที่เป็นของตัวเอง แต่ตัวละครตัวเดียวนี้ไม่สามารถปฏิบัติการทางการเมืองแต่ลำพังได้ ต้องเชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในระบบ, นอกระบบ, และปริ่มๆ ระบบ อีกทั้งที่เข้าไปเชื่อมโยงก็ไม่ใช่เพราะกองทัพตัดสินใจได้เองเพียงอย่างเดียว หากเชื่อมโยงเพราะสถานการณ์ชักจูงไปก็ไม่น้อย เหมือนตัวละครในการเมืองไทยอื่นๆ แหละครับ

แต่ก่อนจะพูดถึงพันธมิตรหรือเครือข่ายของกองทัพ ผมคิดว่ามาเริ่มต้นกับผลประโยชน์ของกองทัพในการเข้าไปมีบทบาทและอำนาจกำกับ (ระดับหนึ่ง) ในการเมืองไทยกันเสียก่อน

ผลประโยชน์ในที่นี้ ผมจะไม่รวมผลประโยชน์ทางอุดมการณ์ เช่น ทหารถูกทำให้เชื่อว่าตนมีหน้าที่ปกป้องราชบัลลังก์ และผดุงความเป็นชาติไทยเอาไว้ และผมไม่นับการที่นายพลได้กินสินบนในการสั่งซื้ออาวุธและอื่นๆ ว่าเป็นผลประโยชน์ของกองทัพ

เท่าที่ผมนึกออก ผมคิดว่ากองทัพได้รับผลประโยชน์จากการเข้าไปมีอำนาจและบทบาททางการเมืองไทยดังนี้

อันแรกคืองบประมาณ เป็นหลักประกันว่ากองทัพจะได้งบประมาณจำนวนมาก ในช่วงสี่ปีหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน งบประมาณกองทัพพุ่งขึ้นตลอดมา จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบงบประมาณทหารต่อจีดีพีแล้ว งบประมาณทหารไทยดูเหมือนจะอยู่สูงสุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน (และแน่นอนว่าสูงกว่าประเทศอียูทั้งมวล)

แน่นอน ส่วนหนึ่งของงบฯนี้ ถูกแบ่งไปซื้อเรือเหาะที่เหาะไม่ได้ เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้อคติเป็นพลังงาน รถถังที่ไม่มีเครื่อง ฯลฯ แต่ที่ผมอยากพูดถึงมากกว่าก็คือ ทหารก็เหมือนข้าราชการอื่นๆ กล่าวคืออยากจะพิสูจน์ความชอบธรรมของหน่วยตนเอง ด้วยการแสดงสมรรถนะให้สังคมยอมรับ กองทัพเลือกการมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยเป็นเครื่องหมายแห่งสมรรถนะ (จะถูกหรือผิดคงเถียงกันได้)

ยิ่งกว่าหน่วยราชการทั่วไปด้วย กองทัพจะพิสูจน์ความชอบธรรมของการมีอยู่ของตนได้น้อยลง เพราะโลกข้างหน้าเท่าที่จะพอมองเห็นได้ คงไม่มีสงครามใหญ่กระทบมาถึงไทย นับวันภารกิจของกองทัพต้องหันมาสู่กิจการภายในมากขึ้น นับตั้งแต่ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล, ช่วยน้ำท่วม และสวนสนาม ฉะนั้นการป้องกันงบประมาณกลาโหมจะยิ่งยากขึ้น อย่าพูดถึงของบฯเพิ่มเลย แม้แต่จะรักษางบฯเก่าให้คงเดิมก็ยากแล้ว

การแผ่รังสีอำมหิตเข้าครอบงำการเมืองจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะประกันว่างบประมาณทหารจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตลอดไป

ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการประกอบภารกิจภายในบางอย่าง ต้องการอำนาจทั้งในกฎหมายและเหนือกฎหมาย เพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงได้ง่ายด้วย เช่น ผลักดันชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านกลับ, ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล และแหะๆ ยึดอำนาจ

ผลประโยชน์อย่างที่สองคือทรัพยากร อย่านึกว่ากองทัพไทยมีแต่ปืนและเครื่องแบบ ที่จริงแล้วกองทัพครอบครองทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญสองอย่างคือที่ดินและคลื่นความถี่ ทรัพยากรเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทางการเมืองที่กองทัพมีอยู่ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ หากทหารไม่มีอำนาจทางการเมืองอยู่เลย ระเบียบอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ที่รัฐเพิ่งเสนอ ก็คงริบเอาคลื่นความถี่ด้าน "ความมั่นคง" ทั้งหมด กลับมาให้คณะกรรมการพิจารณา ไม่ใช่สงวนไว้นอกอำนาจของ กสทช.หน้าตาเฉยอย่างนี้

ที่ดินซึ่งหวงห้ามไว้ในราชอาณาจักรอีกจำนวนมหึมา สมัยที่หวงห้ามยังเป็นป่าเขาที่ห่างไกล แต่บัดนี้กลายเป็นพื้นที่ใกล้หรือในเมือง เพราะการขยายตัวของพื้นที่เมืองในประเทศไทย ย่อมเป็นแหล่งรายได้ทางธุรกิจมหาศาล ไม่พูดถึงการหาประโยชน์เข้ากระเป๋าของนายทหาร หากกองทัพนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ กองทัพก็จะมีเงินรายได้นอกงบประมาณไว้ใช้สอยอีกจำนวนมหึมา (มากกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียอีก)

แม้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของนายพลคนใด แต่เป็นสมบัติของกองทัพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ฉะนั้นถึงอย่างไรก็ต้องรักษาเอาไว้ จะรักษาไว้ได้ก็ต้องควบคุมการเมืองในระดับหนึ่ง เช่น อย่าให้มีใครกล้าออกกฎหมายที่ดินซึ่งจะทำให้กองทัพสูญเสียทรัพยากรที่ดินในครอบครองไป

ผลประโยชน์อย่างที่สามคือโอกาสทางธุรกิจของนายทหาร เพราะอำนาจของกองทัพในการเมืองนี่เอง ธุรกิจจึงนิยมใช้ประโยชน์จากเส้นสายของนายทหารนอกราชการ ทหารเกษียณหลายคนได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ยังไม่พูดถึงรัฐวิสาหกิจ อย่ามองเรื่องนี้เพียงผลประโยชน์ของนายทหารบางคนเท่านั้น นั่นก็ใช่แน่

แต่หากมองว่าระบบบำนาญของกองทัพนั้น มีหลักประกันด้านสวัสดิการที่เหนือกว่าข้าราชการทั่วไป เป็นระบบสวัสดิการของกองทัพซึ่งจะรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องมีอำนาจในการเมือง

อีกเรื่องที่ผมอยากพูดถึงไว้ด้วยก็คือเรื่องของ redistribution หรือการกระจายทรัพย์สมบัติกลับสู่บุคลากรในกองทัพ

ทหารไทยมีประเพณีของ redistribution สูง นับตั้งแต่เลี้ยงเหล้าไอ้เณร ไปจนถึงแบ่งทรัพยากรของกองทัพให้ลูกน้องที่อยู่ในสังกัดของตนได้ดูแล (และบริโภค) เพราะเราจัดความสัมพันธ์ภายในกองทัพในลักษณะนาย-ไพร่ของกองทัพโบราณ เมื่อยึดทรัพย์จับเชลยมาได้ ก็แบ่งปันกันในหมู่ไพร่ในสังกัด ฉะนั้นต้องเข้าใจด้วยว่าผลประโยชน์ที่กองทัพมี หรือที่นายทหารเม้มใส่กระเป๋าของตนนั้น อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งถูกจำหน่ายจ่ายแจกไปในกองทัพ-ในรูปต่างๆ-อยู่พอสมควร

ภารกิจที่จะต้องมีอำนาจเหนือการเมือง จึงเป็นภารกิจที่บุคลากรในกองทัพยอมรับได้ว่าเป็นภารกิจร่วมกันของกองทัพ

จะมีอำนาจเหนือการเมืองได้ ก็ต้องเป็นตัวละครอิสระทางการเมือง กล่าวคือมีความต้องการและทิศทางของตนเอง จะเป็นอย่างนั้นก็ต้องรักษาอิสรภาพของตนไว้ให้ได้ นี่คือเหตุผลที่กองทัพไม่ไว้ใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเผลอเมื่อไรก็มักจะแทรกเข้ามาลดอิสรภาพของกองทัพเสมอ ผบ.กองทัพนั้น กองทัพอยากเป็นคนเลือกเอง เพราะ ผบ.ที่เป็นอิสระเท่านั้น ที่จะไม่นำกองทัพไปเป็นเครื่องมือของใคร (อย่างไม่มีข้อแลกเปลี่ยนเลย)

แต่อำนาจของกองทัพเหนือการเมืองนั้น ไม่ได้มาจากรถถัง, ทหารป่าหวาย, หรือปืนยิงเร็ว ฯลฯ นั่นก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญ กองทัพจะยึดอำนาจหรือรักษาอำนาจของตนในการเมืองไว้ได้ ก็เพราะกองทัพได้รับความเห็นชอบจากส่วนอื่นๆ ที่มีพลังในสังคม

เมื่อตอนที่กองทัพทำรัฐประหารสำเร็จ นายแบงก์และนายทุนธุรกิจพากันหิ้วกระเช้าไปแสดงความยินดีกับหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่จริงแล้วเขาพากันไปแสดงความยินดีกับตนเองไปพร้อมกันด้วย

เพราะการยึดอำนาจครั้งนั้นเขาเห็นชอบ และบางครั้งถึงกับเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินอยู่เบื้องหลังบางส่วนด้วยซ้ำ

ฉะนั้น เราจึงจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของกองทัพได้ ก็โดยการดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองทัพกับ "พันธมิตร" เหล่านี้ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้อยู่คงที่ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เพราะ "พันธมิตร" ก็ต้องการเป็นตัวละครอิสระในทางการเมืองเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนข้างเปลี่ยนสี เปลี่ยนจุดเน้นแห่งพันธะ และเปลี่ยนการดำเนินการทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลกระทบไปถึงการเมืองภายในของกองทัพเองด้วย และแน่นอนย่อมมีผลให้เกิดพลวัตที่แฝงอยู่ในการเมืองไทย

กลุ่มที่เข้ามามีบทบาทบนพื้นที่ทางการเมืองไทย นับจาก 14 ตุลาเป็นต้นมา มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รวมทั้งเพิ่มเข้ามาใหม่อย่างไม่หยุดหย่อนด้วย) ทำให้อำนาจดิบของกองทัพยิ่งไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น การล่มสลายของคณะ รสช.ในเดือนพฤษภาคม 2535 พิสูจน์ว่าอำนาจดิบอย่างเดียวใช้คุมการเมืองไม่ได้ กองทัพเหลียวมองข้างหลังแล้วพบว่า "พันธมิตร" ของตนส่วนใหญ่เผ่นป่าราบไปแล้ว บางส่วนถึงไม่ได้เผ่น ก็เริ่มแทงกั๊ก คือผลักภาระให้กองทัพรับผิดชอบไปแต่ผู้เดียว

ยิ่งย้อนกลับไปถึง 14 ตุลา ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า บางส่วนของ "พันธมิตร" ลอบแทงข้างหลังกองทัพมาแต่ต้น เป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในกองทัพอย่างหนัก แต่พัฒนาการทางการเมืองหลังจากนั้น กลับดึงให้ "พันธมิตร" บางกลุ่มต้องหันกลับมาร่วมมือกับบางส่วนของกองทัพ เพื่อผดุงอำนาจต่อรองของตนในการเมืองเอาไว้

ฉะนั้น ที่ผมเรียกว่า "พันธมิตร" ของกองทัพนั้น ไม่สู้จะถูกต้องนัก เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจับมือกับกองทัพในบางสถานการณ์ และหันหลังให้กองทัพในอีกสถานการณ์หนึ่งได้ ที่ถูกต้องกว่าก็คือกลุ่มคนเหล่านี้เป็น "หุ้นส่วน" ในการเมืองไทย ร่วมหุ้นกันบ้าง ถอนหุ้นกันบ้าง แล้วแต่จังหวะไหนจะทำกำไรได้มากกว่า

ในตอนหน้า ผมจะพูดถึงเรื่องนี้

ช็อก!วิกิปูดพธม.วางแผนสาวกตาย2โหลปูทางปฏิวัติ พลาดเป้าดับแค่2 โจกลิ้มแถWikileaksมั่ว




วีรชนหรือเหยื่อ?-แกนนำพันธมิตรฯยกย่องให้สารว้ตรจ๊าบกับน้องโบว์เป็นวีรชน แต่จากข้อมูลที่แฉโดยวิกิลีกส์ล่าสุดชี้ว่าทั้งสองอาจเป็นเหยื่อของแผนการที่แกนนำกระหายเลือดที่หวังว่าจะมีผู้เสียชีวิตซัก 20 คนเพื่อปูทางให้ทหารทำรัฐประหาร


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา มติชนออนไลน์ และ นสพ.The Guardian

มติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้ วิกิลีกส์ได้เผยแพร่เอกสารรายงานของนายอีริค จี. จอห์น อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ว่า เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 หนึ่งเดือนหลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 นายจอห์นรายงานถึงการสนทนากับสมาชิกตระกูลมหาเศรษฐีของไทยคนหนึ่งที่มีเส้นสายกว้างขวาง ซึ่งวิกิลีกส์ลบชื่อออก (ใช้ชื่อ สมมุติว่า นาย ก.) มีการสนทนากันหลายเรื่อง และในตอนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 โดยระบุถึงการวางแผนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

"นาย ก.เชื่อว่าพันธมิตรยังวางแผนจะให้เกิดการนองเลือดระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่จนทำให้ทหารออกมายึดอำนาจ นาย ก.เสริมคำพูดของเขาด้วยข้อมูลที่ว่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม เขาร่วมทานอาหารเย็นกับผู้นำพันธมิตรคนหนึ่ง ซึ่งผู้นำพันธมิตรคนนั้นบอกเขาว่าพันธมิตรเตรียมยั่วยุให้รัฐใช้ความรุนแรงในระหว่างการประท้วงหน้ารัฐสภาในวันรุ่งขึ้น คือ 7 ตุลาคม ผู้นำพันธมิตรคนนั้นได้คาดการณ์ว่า ทหารจะออกมายึดอำนาจในคืนวันที่ 7 ตุลาคม นาย ก.ยังยืนยันว่า แม้จนขณะที่พูดกันอยู่ พันธมิตรยังหวังจะสร้างสถานการณ์ปะทะขึ้นใหม่เพื่อให้คนตายอีกสักกว่า 20 ศพ อันจะทำให้การที่ทหารออกมายึดอำนาจสมเหตุผล"

เหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีผู้ชุมนุมพันธมิตรเสียชีวิต 2 รายคือน้องโบว์กับสารว้ตรจ๊าบ ตกเย็นวันนั้นมีรถถังของทหารขับมาลานพระรูปทรงม้า ท่ามกลางการโห่ร้องดีใจของผู้ชุมนุม แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อผู้นำทางทหารอ้างว่ามาเพื่อรักษาความสงบ ไมได้ออกมายึดอำนาจตามที่ผู้ชุมนุมพันธมิตรโหยหา

มติชนรายงานข่าวนี้ในเวลา20.20 น.เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. แต่จนกระทั่งถึงเวลา08.30น.เช้าวันนี้(25ธ.ค.)ยังไม่มีปฏิกริยาใดๆจากเวบไซต์ASTVผู้จัดการ กระบอกเสียงชวนเชื่อของพันธมิตร ซึ่งปกติทำตัวเป็นไม้เบื่อไม้เมากับมติชน

อย่างไรก็ตามนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำพันธมิตรได้พูดผ่านรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทาง เอเอสทีวี ช่วงเวลา 20.30-22.30 น. วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม โดยแก้ตัวให้ชนชั้นนำของไทยกรณีกล่าวพาดพิงในทางมิบังควรต่อรัชทายาทว่า ขบวนการข่าวลับระหว่างประเทศ มักตีไข่ใส่สีเลือกข้าง ล้วงความลับจากคนวงในแล้วแอบอ้างชื่อคนมีชื่อเสียง ดังนั้นความเห็นในข้อความที่ "วิกิลิกส์" แฮ็กข้อมูลของไทยจึงไม่จริงทั้งหมด มั่นใจ พล.อ.เปรม ไม่ซี้ซั้วคุยปฎิวัติ 19 ก.ย.

ผมจะบอกให้ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเรา ไม่ซี้ซั้ว อย่าง พล.อ.เปรม ท่านไม่ซี้ซั้วคุยอย่างนี้หรอก ธรรมดาคนใกล้ชิดท่านยังไม่คุยเลย


อย่างไรก็ตามสนธิไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่วิกิลีกส์แฉข้อมูลผู้นำพันธมิตรวางแผนให้คนตายจำนวนมากเพื่อปูทางไปสู่การรัฐประหาร แต่แผนการล้มใหลวเพราะมีคนตายแค่ 2 คนแต่อย่างใด


*************
ข้อมูลเรื่องนี้ของวิกิลีกส์ที่หนังสือพิมพ์GUARDIANเผยแพร่:THAKSIN'S ENEMIES' PLANS FOR VIOLENCE ซึ่งในข่าวนี้บอกว่าผู้นำพันธมิตรวางแผนว่าน่าจะเกิดการตายไม่น้อยกว่า 2 โหล( two dozen deaths )

-------------------------------------

9. (C) XXXXXXXXXXXX believed PAD continued to aim for a violent clash that would spark a coup. He asserted that he had dined on October 6 with a leading PAD figure (NFI), who explained that PAD would provoke violence during its October 7 protest at the parliament. The unnamed PAD figure predicted (wrongly) that the Army would intervene against the government by the evening of October 7.

XXXXXXXXXXXX asserted to us that PAD remained intent on a conflict that would generate at least two dozen deaths and make military intervention appear necessary and justified


http://thaienews.blogspot.com/2010/12/20-2-wikileaks.html

ชนชั้นกลวง'หล่อเซอร์เหี้ย'แต่งเพลงยิงหัวแกนนำเสื้อแดง เหยียดเชื้อชาติลาวจนถูกเฉดพ้นบทพระเอก




ที่มา มติชนออนไลน์ และบอร์ดIF

กระดานสนทนาชุมชนคนเสื้อแดง ได้พากันประกาศแบน เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ ที่ออกมาแต่งเพลง"กระสุนปืน"ด้วยความสะใจให้ยิงหัวแกนนำเสื้อแดง หลังจากก่อนหน้านี้เคยแสดงความสถุลดูถูกผู้หญิงลาว จนโดนถอดออกจากบทพระเอกหนังสบายดีหลวงพระบาง ภาค 2 มาทีแล้ว

ทั้งนี้มติชนออนไลน์ รายงานข่าว เรื่อง "เป้ อารักษ์"เปิดใจแต่งเพลง"กระสุนปืน"จากเหตุการณ์จริง ตอนนั้นโกรธมีแต่"แพะ"ถูกยิง ว่า เห็นเป็นหนุ่มเนื้อหอมคิวทองแห่งปี ล่าสุดรับบทเป็นพระเอกภาพยนตร์น่ารักอย่าง "สุดเขต สเลดเป็ด" หนุ่มเป้ อารักษ์ อมรศุภศิริ หนุ่มมาดเซอร์ ไม่น่าเชื่อว่ายังมีเวลามาผลิตผลงานอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรก ที่ใช้ชื่อว่า "ออโต้อีโรติก" ซึ่งมีเพลงวิจารณ์สิ่งรอบตัว รวมถึงสถานการณ์การเมืองอย่างถึงพริกถึงขิง

หนุ่มเป้ เปิดเผยว่า ในอัลบั้มนี้มีเพลงทั้งหมด 15 เพลง บางเพลงถูกเขียนขึ้นมาระหว่างเกิดเหตุการณ์การปะทะระหว่าง 2 กลุ่มการเมือง ชื่อว่า "กระสุนปืน" ซึ่งเพลงนี้มีความเป็นจริง ภายหลังขับรถไปรับเพื่อนในซอยงามดูพลี ซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางการปะทะ เพื่อนโทรมาบอกให้ไปรับหน่อย เพราะออกมาไม่ได้ ไม่มีอาหารทานแล้ว ตนก็ขับรถปิดไฟไปรับเองเลย พอไปถึงกลางซอยก็ได้ยินเสียงปืนดัง จึงเกิดเพลงนี้ขึ้นมา เหมือนเป็นการระบายความรู้สึกของเรา

อย่างไรก็ตาม นักร้องมาดเซอร์ กล่าวว่า ปกติแล้วไม่ใช่เป็นคนที่ติดตามข่าวสารบ้านเมือง แต่ในขณะนั้นเป็นช่วงประกาศการห้ามออกจากเคหสถาน(เคอร์ฟิว) จึงมีแต่ข่าวในโทรทัศน์ที่ดูได้

"ผมไม่ได้เป็นสีเหลือง หรือสีแดง ไม่ได้เป็นฝ่ายไหนทั้งนั้น แต่เพลงนี้ผมแต่งด้วยความ real (ความจริง) มันเกิดจากความรู้สึกว่า กระสุนปืนถูกยิงไปถูกคนปลายแถว มีแต่แพะ มีแต่เหยื่อที่ไม่รู้เรื่อง ผมก็เลยแต่งเพลงระบายว่าทำไมไม่ใช้กระสุนปืนยิงพวกหัวแถวไปเลย ถ้ายิงแล้วมันจะได้จบ ด้วยอารมณ์โกรธในตอนนั้น" เป้ อารักษ์ กล่าว

เป้ กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ตอนนี้รู้แล้วว่ากระสุนปืนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เหมือนที่ "มหาตมา คานธี" ถูกลอบสังหาร ปัญหาความขัดแย้งก็ไม่ได้สิ้นสุดลง

เผยเพิ่งปากหมาว่าผู้หญิงลาวจนสบายดีหลวงพระบาง2ถอดจากพระเอก

นอกจากมีทัศนคตินิยมความรุนแรงแล้ว เป้-อารักษ์ยังมีชื่อเสียงการดูถูกเหยียดเชื้อชาติอีกด้วย โดยเขาเคยถูกถอดจากบทพระเอก ภาพยนตร์เรื่อง"สะบายดีหลวงพระบาง ภาค2" เนื่องจากไปพูดดูถูกผู้หญิงลาวว่า สวยสู้ผู้หญิงไทยไม่ได้ ทั้งที่นางเอกในเรื่องเป็นผู้หญิงลาว ทำให้รัฐบาลลาวไม่พอใจ จนต้องเปลี่ยนตัวพระเอก และกระทบต่อหนังเรื่องนี้ให้ล่าช้าออกไปเป็นปี

แต่เป้ก็ยังหลุดปากเน่าๆออกมาว่า "คือในส่วนของคนลาวเอง ผมก็ไม่รู้ว่าเขาคิดมากรึเปล่า.."( รายละเอียด )

ข่าวคึกโครมระดับโลกที่เงียบเชียบในสื่อไทย

ข่าวคึกโครมระดับโลกที่เงียบเชียบในสื่อไทย วิกิลีกส์ตีแผ่อีกเปรม-อานันท์ปูดข้อมูลลับระดับสูงสู่ทูตสหรัฐ



เย้ยหยันเสรีภาพสื่อไทย- "คุณปลื้ม"ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการDAILY DOSE ทางVOICE TV เย้ยหยันเสรีภาพสื่อไทยกลางรายการทีวี กรณีปิดปากงดออกข่าววิกิลีกส์แฉชนชั้นนำไทย ด้วยการนำพลาสเตอร์มาปิดปากเมื่อเล่าข่าวการแฉบุคคลระดับสูงแทรกแซงการเมือง แต่สื่อไทยพากันเซ็นเซอร์ตัวเองด้วยการงดนำเสนอข่าว

สิ่งที่สื่อไทยเสนอได้-ไม่มีรายงานข่าวอึกกระทึกคึกโครมระดับโลกในสื่อไทยฉบับเช้าวันนี้ มิหนำซ้ำยังนำเสนอข่าวพาดหัวเกี่ยวกับแชมป์มหาเศรษฐีหุ้นชื่อเสี่ยทองมา ซึ่งในแวดวงหุ้นทั้งไทยและเทศรู้ดีว่า แชมป์ตัวจริงเป็นเสี่ยอีกรายที่สำนักข่าวBloombergเคยนำเสนอว่าเป็นมหาเศรษฐีหุ้นอันดับ1ตัวจริงเสียงจริงมาอย่างแน่นเหนียวนานหลายปี เพียงแต่ว่าสื่อไทยนำเสนอข่าวนี้ไม่ได้ และก็ไม่มีใครกล้าพูดด้วย

ประชาไท รายงานข่าวว่า เว็บไซต์การ์เดียนรายงานในเซ็คชั่น 'You ask, we search' ซึ่งเปิดให้ผู้อ่านสอบถามประเด็นที่สงสัยและจะมีการค้นหาคำตอบจากวิกิลีกส์ (wikileaks) เว็บไซต์จอมแฉชื่อดัง โดยมีตอนหนึ่งระบุถึงเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทยเมื่อปี 2549 โดยอ้างอิงถึงเอกสารจากสถานทูตสหรัฐฯที่ระบุเอาไว้ว่า นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าบุคคลระดับสูงของไทยมีความเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารที่เกิดขึ้น รวมทั้งยังเกี่ยวพันกับความวุ่นวายอย่างต่อเนื่องโดยผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การล้มรัฐบาลหลายชุดที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา

นอกจากนี้การ์เดียนยังเปิดเผยเอกสารเกี่ยวกับการรัฐประหารอีก 2 ฉบับ ซึ่งเป็นการพูดคุยส่วนตัวของนายราล์ฟ บอยซ์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ในวันที่ 20 กันยายน 2549 และการสื่อสารระหว่างนายอีริค จีจอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐคนปัจจุบันกับแหล่งข่าวในพระราชสำนักด้วย

ข่าวนี้ถือเป็นข่าวอึกกระทึกคึกโครมระดับโลก แต่น่าประหลาดใจที่ไม่พบรายงานในสื่อกระแสหลักอื่นใด นอกจากในสื่อกระแสหลักภาษาอังกฤษคือBangkok Postฉบับออนไลน์เมื่อวานนี้ และข่าวนี้หายไปในเวลาไม่นานนัก วงการเชื่อว่าBangkok Postหลุดเดี่ยว โดยพลั้งเผลอ แต่ก็ลบทัน

นอกจากนั้นเวบไซต์ผู้จัดการASTVก็นำข่าวนี้ขึ้นรายงานด้วยเช่นกัน โดยอ้างแหล่งข่าวจากAFP และมีรายงานว่าหน้าเวบผู้จัดการหายไปช่วงหนึ่งหลังนำเสนอข่าวนี้ ก่อนจะปรากฎตัวใหม่ โดยข่าวนี้หายไปจากสารบบของเวบแล้ว

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เขียนลงในเฟซบุ๊คเขาด้วยว่า ยังมีโทรเลขล่าสุด ที่ The Guardian เอามาอภิปรายนี้ (ขณะที่ผมเขียนนี้ ตัวบท โทรเลขจริงๆ ยังไม่ได้มีการตีพิมพ์ มีแต่บทวิเคราะห์-รายงาน) เป็นโทรเลขเมื่อเดือนมกราคมปีนี้เอง ทูตสหรัฐได้รายงานการสนทนากับ เปรม, สิทธิ เศวตศิลา และ อานันท์ ปันยารชุน เกี่ยวกับปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์

เรื่อง "ตลก" ที่ไม่ตลก เกี่ยวกับเนื้อหาที่ เปรม อานันท์ สิทธิ พูดกับทูตสหรัฐอยู่ นั่นคือ ถ้าเป็นคนธรรมดาทั่วไป พูดเรื่องแบบนี้ แม้ในที่ "ไพรเวท" ก็ยังเสี่ยง่ต่อการโดนเล่นงานด้วย ม.112 ได้ ผมพูดนี่ ไม่ได้เสนอเลยว่าให้เล่นงาน เปรม อานันท์ สิทธิ ด้วย ม.112 นะครับ ต้องย้ำ ผมไม่เคยยุให้ใช้กฎหมายนี้กับใครเลยทั้งสิ้น แม้แต่...กับกรณีสนธิ ลิ้มทองกุล หรือพวกพันธมิตร พวกจงรักภักดีทั้งหลาย

คุณปลื้มเย้ยหยันเสรีภาพสื่อไทยกลางรายการทีวี กรณีปิดปากงดออกข่าววิกิลีกส์แฉชนชั้นนำไทย
ในรายการDaily DoseทางVoice TV เมื่อค่ำวันที่ 16 ธันวาคม เมื่อม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล "คุณปลื้ม" ผู้ดำเนินรายการ ได้เล่าข่าวถึงเรื่องWikileaks แฉเอกสารข้อมูลที่ทูตสหรัฐฯได้ข้อมูลจากบุคคลระดับสูงในไทย ไม่ว่าจะเป็นพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา นายอานันท์ ปันยารชุน พล.อ.สนธิ บุณยะรัตกลิน นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่กล่าวหา หรือพาดพิงถึงบุคคลสำคัญระดับสูงเข้ามาแทรกแซงการเมือง

คุณปลื้มแจ้งว่า เขาก็ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองเหมือนกับสื่อทั่วไปต้องทำ นั่นคือการเซ็นเซอร์ตัวเองให้เงียบเสียง ว่าแล้วคุณปลื้มก็นำปลาสเตอร์ขึ้นมาปิดปาก แล้วปล่อยให้ภาพบุคคลชนชั้นนำของไทยหมุนเวียนอยู่หน้าจอทีวี

ล่าสุดศาลสูงของลอนดอน อนุญาตให้ประกันตัว จูเลียน แอสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์แล้ว ปฏิเสธคำอุทธรณ์คัดค้านการปล่อยตัวเขาภายใต้เงื่อนไขอันเข้มงวด

ก่อนหน้านี้คุณปลื้มได้เรียกร้องในรายการ สนับสนุนให้เวบไซต์ข่าวทางเลือกอย่างไทยอีนิวส์ หรือประชาไท ร่วมมือกับวิกิลีกส์เพื่อขุดคุ้ยความจริงด้านต่างๆนำเสนอสู่สังคมไทย

อย่างไรก็ตามจากการสอบถามบรรณาธิการของไทยอีนิวส์ ได้รับคำตอบว่า ตอนนี้ยังแสดงความเห็นอะไรไม่ได้ถนัด เพราะเขาก็ถูกพลาสเตอร์อุดปากอยู่เหมือนกัน

สื่อกระแสหลักแทบทั้งหมดเลือกที่จะเซ็นเซอร์ตัวเองในข่าวที่วิกิลีกส์เปิดเผยออกมาล่าสุดนี้ ราวกับว่าไม่ได้มีเรื่องสำคัญอึกกระทึกคึกโครมไปทั่วโลกเกิดขึ้น