เจาะชีวิต สุเทพ เทือกสุบรรณ ขุนศึกประชาธิปัตย์

เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

ถ้าเอ่ยถึงเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือ ส.ส.สุราษฎร์ธานี หลายสมัยต้องมีหลายๆ คงร้องอ๋อ ! และนึกถึงความกล้าพูด กล้าคิด ตามแบบฉบับขุนศึกใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์อย่าง "สุเทพ เทือกสุบรรณ" แต่ยังมีอีกมากที่ไม่เคยรู้เบื้องลึกเบื้องหลังของนักการเมืองฝีปากกล้าคนนี้ เอาเป็นว่าไปล้วงความลับ เอ้ย...ลวงความเป็นมาเป็นไปของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" กันดีกว่าค่ะ...

สุเทพ เทือกสุบรรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรนายจรัส เทือกสุบรรณ กำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คน สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา สุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้งทำให้ได้เป็นกำนันขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี

ต่อมาสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือพรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจยุบสภา ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538 ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย

แม้ว่านับตั้งแต่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี พ.ศ. 2538 สุเทพไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด



สุเทพ เทือกสุบรรณ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 และดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน และจากที่เคยเป็นกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้จนถึงขณะนี้ บางครั้งยังมีคนเรียกว่า "กำนันสุเทพ" แต่มีชื่อเรียกเล่นๆ จากสื่อมวลชนโดยทั่วไปว่า "เทพเทือก" ซึ่งเกิดจากการย่อ ชื่อและนามสกุล "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รวมเข้าด้วยกันนั่นเอง

ทางด้านครอบครัว "สุเทพ เทือกสุบรรณ" สมรสกับ "นางศรีสกุล พร้อมพันธ์" ไฮโซชื่อดังซึ่งเป็นน้องสาวนักการเมืองเก่า "นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์" พร้อมๆ กับกระแสข่าวที่แอบเม้าท์สนั่นและเป็นประเด็นให้นักการเมืองพรรคอื่นๆ ใช้โจมตีเวลาหาเสียงเลือกตั้งตลอดว่า สุเทพแทงข้างหลังแอบตีท้ายครัว (อดีต) เพื่อนสนิท "พรเทพ เตชะไพบูลย์" เพื่อหวังทรัพย์สมบัติ ทั้งๆ ที่ขณะนั้น ศรีสกุล พร้อมพันธ์ ยังไม่ได้หย่าขาดกับพรเทพแต่อย่างใด และก่อนที่พรเทพจะมาแต่งงานกับ "ปภัสรา ชุตานุพงษ์" นอกจากนี้ ศรีสกุล พร้อมพันธ์ ยังเคยเล่นการเมืองโดยได้รับเลือกให้เป็นส.ส.อยู่สมัยหนึ่ง หลังจากนั้นก็เลิกเล่นการเมือง และหันมาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ปัจจุบัน "สุเทพ เทือกสุบรรณ" มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณ และ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

ใครเผาบ้านเผาเมืองกันแน่

ใครกันแน่ที่เผาบ้านเผาเมือง ใครได้ประโยชน์ รัฐบาลเลิกใส่ร้ายประชาชนคนเสื้อแดงเสียทีเลิกปิดกั้น เลิกทำลายหลักฐานแล้วจะได้รู้กันว่าใครเป็นคนเผา

เหตุการณ์ก่อนห้างถูกเผา

เริ่มถูกยิงไล่ออกจากห้าง

ขณะที่คนที่ยืนดูอยู่ก็โดนยิงไล่

อยู่ไม่ได้ต้องออกมาหมด

รปภ. ห้างทยอยออกมา

รปภ และ เจ้าของร้านไม่สามารถเข้าไปดูแลร้านตัวเองข้างในได้ เพราะถูกไล่ยิงออกมา

พนักงานและ รปภ.ห้างต้องหลบอย่างเดียว

มีกระสุนยิงใส่พนักงาน เพื่อให้ออกไปจากบริเวณห้าง

มีคนเข้ามาค้นหาสิ่งของมีค่าทั้งๆที่มี ศอฉ.ยึดพื้นที่ไว้หมดแล้ว

ศอฉ.นี่เองกำลังตัดกุญแจตามร้านค้าต่างๆทำไม

ศอฉ.ตัดกุญแจเข้าร้านโน้น ออกร้านนี้

ตำรวจเข้ามาตรวจสอบพื้นที่หลังห้างถูกเผา

มีกลิ่นที่รุนแรงมาก

มีคนตาย

หลักฐานในตัวที่ค้นพบ

สภาพศพ น้องนักศึกษาจากอ.ราษีไศล จ.ศรีษะเกษ